วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุป ระบบโครงกระดูก

ระบบโครงกระดูก


             ร่างกายของมนุษย์ขณะยังเป็นทารกมีกระดูกทั้งหมดประมาณ 350 ชิ้น หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเชื่อมติดกันของกระดูกบางชิ้น จนกระทั่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ร่างกายมนุษย์จะมีกระดูกรวมกันทั้งสิ้น 206 ชิ้น แบ่งเป็น กระดูกแกน 80 ชิ้น เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ กระดูกซี่โครง อีกพวกหนึ่ง คือ กระดูกรยางค์ จำนวน 126 ชิ้น เช่น กระดูกแขนขา สะบัก ไหปลาร้า เชิงกราน โดยระบบโครงกระดูกจะทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ

จำนวนของกระดูก


            จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มที่แล้ว มีทั้งสิ้น 206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
-กะโหลกศรีษะ( Cranium) 8 ชิ้น
-กระดูกหน้า (Face) 14 ชิ้น
-กระดูกหู (Ear) 6 ชิ้น: กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
-กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
-กระดูกหน้าอก (Sternum) 1 ชิ้น
-กระดูกซี่โครง (Ribs) 24 ชิ้น
-กระดูกแขน (Upper extremities) 64 ชิ้น
-กระดูกขา (Lower extremities) 62 ชิ้น


ความสำคัญของกระดูก



               โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
- ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้
- ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ ปอด ตับ
- เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ การที่เราเคลื่อนไหวได้เป็นผลมาจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดกับกระดูก


การแบ่งตามลักษณะกระดูก



-กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา (แข็งแรงที่สุด)
-กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
-กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
-กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
-กระดูกลม
-กระดูก โพรง กะโหลกศีรษะ
ส่วนประกอบของกระดูก


1. สารอนินทรีย์ คือ สารแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นสารทำให้กระดูกแข็งแกร่ง มีปริมาณสองในสามของเนื้อกระดูก
2. สารอินทรีย์ คือ สารที่มีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น เช่น โปรตีน ทำหน้าที่ประสานโมเลกุลของแคลเซียมฟอสเฟตเข้าด้วยกัน เกิดเป็นโครงร่างของกระดูก ถ้าขาดแคลเซียมฟอสเฟตจะทำให้กระดูกมีลักษณะอ่อนนิ่มเหมือนยาง อย่างกระดองปูนิ่ม ขณะเดียวกันถ้าขาดสารโปรตีน จะมีลักษณะเป็นผงคล้ายขี้เถ้า

2 ความคิดเห็น: